วิธีป้องกันเบื้องต้นไม่ให้ต่อมบาร์โธลินกลับมาอักเสบอีก
หลายคนที่เคยมีประสบการณ์เป็นเจ้าต่อมบาร์โธลินอักเสบนี้คงจะเข็ดขยาดกนไปไม่มากก็น้อย ยิ่งหมอหลายๆท่านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เจ้าต่อมบาร์โธลินเนี่ยถ้าเคยอักเสบแล้วสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้ตลอดเวลา บางคนเพิ่งผ่าตัดไปแค่อาทิตย์กว่าๆก็กลับมาบวมเป่งอีก หรือบางคนผ่าตัด/กรีดหนองออกไปแล้ว 2-3ปีให้หลังก็ดดันกลับมาเป็นอีก จนหลายคนเรียกเจ้าโรคนี้ว่าโรคเวรโรคกรรมกันเลยทีเดียว ก็สำหรับวันนี้เราก็มีวิธีป้องกันเบื้องต้นที่เราได้สอบถามจากแพทย์ตอนที่เราไปหากับเพื่อนเรา บวกกับวิธีการดูแลตัวเองของเพื่อนเราที่พูดถึงเมื่อบทที่แล้ว น่าจะช่วยป้องกันได้ไม่มากก็น้อยค่ะ ซึ่งก็มีดังนี้
1.ลองเปลี่ยนยี่ห้อผ้าอนามัยดู
ถ้าใช้ตัวไหนจนเคยชินไม่มีอาการแพ้ ให้ใช้ตัวนั้นเลยค่ะ เพราะบางคนใช้ยี่ห้อเดิมมานาน แต่จู่ๆมาเปลี่ยนยี่ห้อใหม่บ้าง อยากใช้แบบมีน้ำหอมบ้าง เชื่อมั้ยคะว่าปัจจัยเหล่านี้สามารถเป็นตัวกระตุ้นให้เข้าต่อมบาร์โธลินนั้นอักเสบได้เป็นอย่างดี เพราะงั้นถ้าใครชอบกลับมาเป็นซ้ำบ่อยๆ อาจแนะนำให้ลองเปลี่ยนยี่ห้อผ้าอนามัยดูค่ะ แลเวลาใส่ผ้าอนามัยนั้น ต่อให้จะเปื้อนมากหรือเปื้อน้อย ก็ไม่ควรใส่ติดต่อกันเกิน 3 ชั่วโมงค่ะ คือถ้าครบ 3 ชม.แนะนำให้เปลี่ยนดีกว่า อย่าประหยัดจนทำให้ต่อมบาร์โธินอักเสบเลยค่ะ เชื่อเราว่าความทรมาณมันไม่คุ้มกันจริงๆ เราเห็นเพื่อนเราร้องครวญครางตอนเป็นแล้วเรานี่เสียวแทนเลยค่ะ
2.ปล่อยท่อนล่างโล่งโจ้งไปเลยถ้าทำได้
เอาจริงๆเราว่าถ้าเวลาอยู่ในบ้านปล่อยโล่งๆก็ดีเหมือนกันนะคะ ไม่ต้องใส่อะไรเลย รับรองไม่อับชื้นแน่นอน อันนี้คุณหมอแนะนำเพื่อนเรามาเองเลยค่ะ เพื่อนเราบอกว่ามันสบายมากจริงๆ แรกๆอาจจะรู้สึกแปลกใหม่ไปหน่อย และขอบอกว่าความเชื่อที่ว่าไม่ใส่กางเกงในแล้วจะทำให้เป็นไส้เลื่อน ขอบอกว่าไม่จริงแต่ประการใดค่ะ เพราะสาเหตุของการเกิดไส้เลื่อนไม่ได้มาจากการไม่ใส่กางเกงในค่ะ
3.พยายามออกกำลังกาย ไม่ให้ร่างกายอ้วนมากเกินไป
ที่มาของคำว่าขาเบียดนั่นเองค่ะ เชื่อมั้ยคะว่าคนอ้วน(ช่วงล่างใหญ่) มีสิทธิ์เป็นได้มากกว่าคนผอมนะคะ เพราะเนื้อต้นขาที่เบียดกันอาจทำให้เกิดการอับชื้นได้ค่ะ เพราะงั้นต้องหันมาออกกำลังกายกันนะคะ
4.ป้องกันเวลามีเพศสัมพันธ์
ถ้าไม่มั่นใจในคู่นอนของตัวเองจริงๆ แนะนำถุงยางอนามัยดีที่สุดค่ะ
5.พยายามทานอาหารที่มีประโยชน์
หากเป็นไปได้อยากให้เพลาๆเรื่องน้ำตาลค่ะ หรืออะไรก็ตามแต่ที่สามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ เช่นแป้ง ข้าว คือสามารถทานได้แต่ทานน้อยๆจะดีกว่าค่ะ แต่ตัวร้ายที่สุดเลยค่ะน้ำตาลโดยตรงนี่แหละ อย่างที่เคยเกริ่นไปค่ะ ให้นึกถึงคนเป็นเบาหวานที่เวลาเป็นแผลแล้วจะหายช้านั่นแหละ น้ำตาลจะมีผลโดยตรงต่อการอักเสบติดเชื้อของร่างกายค่ะ
6. ไม่ควรนั่งท่าเดิมนานๆ
โดยเฉพาะสาวออฟฟิศที่ต้องนั่งติดโต๊ะเป็นเวลานานๆ ยิ่งท่าไขว่ห้างนี่อันตรายเลยทีเดียว แนะนำว่าให้พยายามลุกยืนหรือเดินบ้างค่ะ ต้องเตือนตัวเองกันหน่อยน้า
แต่ถ้าในกรณีที่มันเกิดขึ้นมาแล้ว เริ่มมีตุ่มขึ้นมาแล้ว ก็อย่าเพิ่งตีอกชกตัวเองนะคะ มันมีวิธีแก้ไขเบื้องต้นค่ะ ดังนี้
1. หากเป็นตุ่มเล็กๆ ยังไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ สามารถลองซื้อยาทาสิวอักเสบมาทาก่อนได้
อันนี้เป็นอะไรที่เราตกใจมากค่ะตอนนั่งฟังกับเพื่อนเพราะไม่คิดว่ามันจะเกี่ยวกัน คุณหมอบอกว่ายาทาแก้สิวอักเสบมันก็คือยาแก้อักเสบเหมือนที่เรากินกันแหละค่ะ เพียงแต่มาในรูปแบบทา ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆ คือมันปูดขึ้นมาแล้ว ป้องกันไม่ทันแล้ว ก็แนะนำว่าอย่าเพิ่งไปเค้นหรือทำอะไรมันค่ะ ลองทายาดูก่อนค่ะว่ามันยุบมั้ย
2. พยายามปล่อยโล่ง อย่าเอามือไปจับไปคลำไปเค้นมันมาก
เราอ่านเจอหลายเว็บไซต์เลยที่แนะนำว่าให้นั่งแช่น้ำอุ่น พอเราอ่านเจอตรงนี้เราเลยบอกให้เพื่อนลองดู นางก็รีบลองเลยเพราะอยากหาย แช่ไปได้ 2 วัน(เปิดจากฝักบัวทำน้ำอุ่นนี่แหละ รองน้ำใส่กาละมังแล้วนั่งแช่) นางบอกว่าไม่ยุบแถมบวมกว่าเดิมอีก แต่ตอนที่นาแช่คือมันปูดออกมาเท่าลูกแก้วแล้ว(ที่เด็กใช้ดีดเล่นกัน) แถมก่อนแช่ก็เริ่มปวดหน่อยๆแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ว่ามาแช่น้ำร้อนช้าเกินไปค่ะ
3. หากเริ่มมีอาการบวมเจ็บ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับยามาทานค่ะ
คือจริงๆจะทนจนมันปูดและหนองแตกก็ได้แต่จะทรมาณมากและเสี่ยงติดเชื้อด้วยค่ะ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อนรับยามาทาน แต่ยังไงเราก็ยังเชื่อในร่างกายมนุษย์ค่ะ ว่าร่างกายมนุษย์ทุกคนนั้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์ค่ะ สามารถรักษาตัวเองได้ แต่ทั้งนี้เราก็ต้องติดเสริมอาวุธช่วยร่างกายตัวเองด้วย(เช่นทานยาเข้าไปช่วยสู้อีกแรง)
สำหรับประสบการณ์จากเพื่อนเราก็มีเพียงเท่านี้ที่อยากมาแชร์กันค่ะ ถ้าสาวๆคนไหนเป็นก็สามารถพูดคุยกันได้นะคะ เรื่งแบบนี้ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ทุกคนมีสิทธิ์เป็นกันได้ค่ะ อย่าได้เก็บไว้ จะเครียดทั้งกายและใจค่ะ มีอะไรสามารถคอมเมนต์พูดคุยกันได้นะคะ ถือว่าแชร์ประสบการณ์กันค่ะ เราอยากให้คนที่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับต่อมนี้ได้เห็นบล็อกนี้มากๆค่ะ เพราะจะได้หายกังวลใจไปเปราะนึงแล้วว่าอย่างน้อยมันก็ไม่ใช้โรคร้ายแรงหรืออันตราย เพียงแต่สร้างความทุกข์กายในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากเท่านั้นเองค่ะ ยังไม่อยากให้กลัวและนึกไปถึงตอนกรีดหนองหรือผ่าตัดต่อมออก เพราะวิธีรักษามันมีมากมายและขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วยค่ะ
ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับคนที่แวะเข้ามาอ่านไม่มากก็น้อยนะคะ
หัวข้ออื่นๆ
-ต่อมบาร์โธลินอักเสบ มีอาการอย่างไรบ้าง
-สาเหตุของต่อมบาร์โธลินอักเสบนั้นมีอะไรบ้าง
-วิธีการรักษาต่อมบาร์โธลินอักเสบ
-วิธีดูแลตัวเองในขณะที่ต่อมบาร์โธลินอักเสบ
-จุดเริ่มต้นของการเขียนเกี่ยวกับต่อมบาร์โธลิน
1.ลองเปลี่ยนยี่ห้อผ้าอนามัยดู
ถ้าใช้ตัวไหนจนเคยชินไม่มีอาการแพ้ ให้ใช้ตัวนั้นเลยค่ะ เพราะบางคนใช้ยี่ห้อเดิมมานาน แต่จู่ๆมาเปลี่ยนยี่ห้อใหม่บ้าง อยากใช้แบบมีน้ำหอมบ้าง เชื่อมั้ยคะว่าปัจจัยเหล่านี้สามารถเป็นตัวกระตุ้นให้เข้าต่อมบาร์โธลินนั้นอักเสบได้เป็นอย่างดี เพราะงั้นถ้าใครชอบกลับมาเป็นซ้ำบ่อยๆ อาจแนะนำให้ลองเปลี่ยนยี่ห้อผ้าอนามัยดูค่ะ แลเวลาใส่ผ้าอนามัยนั้น ต่อให้จะเปื้อนมากหรือเปื้อน้อย ก็ไม่ควรใส่ติดต่อกันเกิน 3 ชั่วโมงค่ะ คือถ้าครบ 3 ชม.แนะนำให้เปลี่ยนดีกว่า อย่าประหยัดจนทำให้ต่อมบาร์โธินอักเสบเลยค่ะ เชื่อเราว่าความทรมาณมันไม่คุ้มกันจริงๆ เราเห็นเพื่อนเราร้องครวญครางตอนเป็นแล้วเรานี่เสียวแทนเลยค่ะ
2.ปล่อยท่อนล่างโล่งโจ้งไปเลยถ้าทำได้
เอาจริงๆเราว่าถ้าเวลาอยู่ในบ้านปล่อยโล่งๆก็ดีเหมือนกันนะคะ ไม่ต้องใส่อะไรเลย รับรองไม่อับชื้นแน่นอน อันนี้คุณหมอแนะนำเพื่อนเรามาเองเลยค่ะ เพื่อนเราบอกว่ามันสบายมากจริงๆ แรกๆอาจจะรู้สึกแปลกใหม่ไปหน่อย และขอบอกว่าความเชื่อที่ว่าไม่ใส่กางเกงในแล้วจะทำให้เป็นไส้เลื่อน ขอบอกว่าไม่จริงแต่ประการใดค่ะ เพราะสาเหตุของการเกิดไส้เลื่อนไม่ได้มาจากการไม่ใส่กางเกงในค่ะ
3.พยายามออกกำลังกาย ไม่ให้ร่างกายอ้วนมากเกินไป
ที่มาของคำว่าขาเบียดนั่นเองค่ะ เชื่อมั้ยคะว่าคนอ้วน(ช่วงล่างใหญ่) มีสิทธิ์เป็นได้มากกว่าคนผอมนะคะ เพราะเนื้อต้นขาที่เบียดกันอาจทำให้เกิดการอับชื้นได้ค่ะ เพราะงั้นต้องหันมาออกกำลังกายกันนะคะ
4.ป้องกันเวลามีเพศสัมพันธ์
ถ้าไม่มั่นใจในคู่นอนของตัวเองจริงๆ แนะนำถุงยางอนามัยดีที่สุดค่ะ
5.พยายามทานอาหารที่มีประโยชน์
หากเป็นไปได้อยากให้เพลาๆเรื่องน้ำตาลค่ะ หรืออะไรก็ตามแต่ที่สามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ เช่นแป้ง ข้าว คือสามารถทานได้แต่ทานน้อยๆจะดีกว่าค่ะ แต่ตัวร้ายที่สุดเลยค่ะน้ำตาลโดยตรงนี่แหละ อย่างที่เคยเกริ่นไปค่ะ ให้นึกถึงคนเป็นเบาหวานที่เวลาเป็นแผลแล้วจะหายช้านั่นแหละ น้ำตาลจะมีผลโดยตรงต่อการอักเสบติดเชื้อของร่างกายค่ะ
6. ไม่ควรนั่งท่าเดิมนานๆ
โดยเฉพาะสาวออฟฟิศที่ต้องนั่งติดโต๊ะเป็นเวลานานๆ ยิ่งท่าไขว่ห้างนี่อันตรายเลยทีเดียว แนะนำว่าให้พยายามลุกยืนหรือเดินบ้างค่ะ ต้องเตือนตัวเองกันหน่อยน้า
แต่ถ้าในกรณีที่มันเกิดขึ้นมาแล้ว เริ่มมีตุ่มขึ้นมาแล้ว ก็อย่าเพิ่งตีอกชกตัวเองนะคะ มันมีวิธีแก้ไขเบื้องต้นค่ะ ดังนี้
1. หากเป็นตุ่มเล็กๆ ยังไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ สามารถลองซื้อยาทาสิวอักเสบมาทาก่อนได้
อันนี้เป็นอะไรที่เราตกใจมากค่ะตอนนั่งฟังกับเพื่อนเพราะไม่คิดว่ามันจะเกี่ยวกัน คุณหมอบอกว่ายาทาแก้สิวอักเสบมันก็คือยาแก้อักเสบเหมือนที่เรากินกันแหละค่ะ เพียงแต่มาในรูปแบบทา ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆ คือมันปูดขึ้นมาแล้ว ป้องกันไม่ทันแล้ว ก็แนะนำว่าอย่าเพิ่งไปเค้นหรือทำอะไรมันค่ะ ลองทายาดูก่อนค่ะว่ามันยุบมั้ย
2. พยายามปล่อยโล่ง อย่าเอามือไปจับไปคลำไปเค้นมันมาก
เราอ่านเจอหลายเว็บไซต์เลยที่แนะนำว่าให้นั่งแช่น้ำอุ่น พอเราอ่านเจอตรงนี้เราเลยบอกให้เพื่อนลองดู นางก็รีบลองเลยเพราะอยากหาย แช่ไปได้ 2 วัน(เปิดจากฝักบัวทำน้ำอุ่นนี่แหละ รองน้ำใส่กาละมังแล้วนั่งแช่) นางบอกว่าไม่ยุบแถมบวมกว่าเดิมอีก แต่ตอนที่นาแช่คือมันปูดออกมาเท่าลูกแก้วแล้ว(ที่เด็กใช้ดีดเล่นกัน) แถมก่อนแช่ก็เริ่มปวดหน่อยๆแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ว่ามาแช่น้ำร้อนช้าเกินไปค่ะ
3. หากเริ่มมีอาการบวมเจ็บ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับยามาทานค่ะ
คือจริงๆจะทนจนมันปูดและหนองแตกก็ได้แต่จะทรมาณมากและเสี่ยงติดเชื้อด้วยค่ะ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อนรับยามาทาน แต่ยังไงเราก็ยังเชื่อในร่างกายมนุษย์ค่ะ ว่าร่างกายมนุษย์ทุกคนนั้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์ค่ะ สามารถรักษาตัวเองได้ แต่ทั้งนี้เราก็ต้องติดเสริมอาวุธช่วยร่างกายตัวเองด้วย(เช่นทานยาเข้าไปช่วยสู้อีกแรง)
สำหรับประสบการณ์จากเพื่อนเราก็มีเพียงเท่านี้ที่อยากมาแชร์กันค่ะ ถ้าสาวๆคนไหนเป็นก็สามารถพูดคุยกันได้นะคะ เรื่งแบบนี้ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ทุกคนมีสิทธิ์เป็นกันได้ค่ะ อย่าได้เก็บไว้ จะเครียดทั้งกายและใจค่ะ มีอะไรสามารถคอมเมนต์พูดคุยกันได้นะคะ ถือว่าแชร์ประสบการณ์กันค่ะ เราอยากให้คนที่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับต่อมนี้ได้เห็นบล็อกนี้มากๆค่ะ เพราะจะได้หายกังวลใจไปเปราะนึงแล้วว่าอย่างน้อยมันก็ไม่ใช้โรคร้ายแรงหรืออันตราย เพียงแต่สร้างความทุกข์กายในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากเท่านั้นเองค่ะ ยังไม่อยากให้กลัวและนึกไปถึงตอนกรีดหนองหรือผ่าตัดต่อมออก เพราะวิธีรักษามันมีมากมายและขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วยค่ะ
ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับคนที่แวะเข้ามาอ่านไม่มากก็น้อยนะคะ
หัวข้ออื่นๆ
-ต่อมบาร์โธลินอักเสบ มีอาการอย่างไรบ้าง
-สาเหตุของต่อมบาร์โธลินอักเสบนั้นมีอะไรบ้าง
-วิธีการรักษาต่อมบาร์โธลินอักเสบ
-วิธีดูแลตัวเองในขณะที่ต่อมบาร์โธลินอักเสบ
-จุดเริ่มต้นของการเขียนเกี่ยวกับต่อมบาร์โธลิน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น